บริษัท สยามเอ็นจิเนีย ฟอรั่ม จำกัด

Blog Detail

เสาเข็มสปันไมโครไพล์สำหรับงาน Under pinning และการต่อเติมอาคาร ตอนที่2

               ตอนที่แล้วเราพูดถึงปัญหาที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการต่อเติมในที่แคบกันไปแล้ว คราวนี้เรามาต่อกันด้วยทางออกและวิธีการแก้ไขที่ถูกต้องกันบ้าง...

ไมโครไพล์ เสาเข็มไมโครไพล์ Micropile สปันไมโครไพล์ ไมโครไพล์ เสาเข็มไมโครไพล์ Micropile สปันไมโครไพล์

ข้อที่ 1  วางแผนไว้ก่อนตั้งแต่ตอนสร้างบ้าน ถ้ายังไม่มีกำลังทรัพย์ที่จะต่อเติมในตอนนั้นได้ ก็ตอกเสาเข็มไว้ก่อน แต่มีน้อยรายที่จะทำเช่นนี้ได้ เพราะตอนที่ซื้อบ้านนั้น แค่หาเงินดาวน์กับพยายามกู้แบงค์ให้ผ่านก็จะแย่อยู่แล้ว จะมีความคิดอะไรได้มากกว่านี้

ข้อที่ 2  ไม่ต้องต่อเติมเลย มีแค่ไหนเอาแค่นั้น หรือถ้าจะต่อเติมโดยใช้เสาเข็มสั้นๆ ให้แยกขาดจากตัวบ้านเดิม และควรจะต่อเติมเพียงชั้นเดียวเท่านั้น

ข้อที่ 3  ใช้เสาเข็มสำหรับส่วนที่จะต่อเติม ให้มีความยาวหรือความลึกปลายเสาเข็มเท่าๆ กับอาคารเดิม

ไมโครไพล์ เสาเข็มไมโครไพล์ Micropile สปันไมโครไพล์

                               (ขอบคุณรูปภาพจาก SCG)

วิธีการของข้อที่1 เราจะไม่พูดซ้ำแต่จะมาพิจารณาวิธีการตามข้อที่ 2 และข้อที่ 3 กล่าวคือข้อที่ 2 สำหรับบางท่านอาจจะเหมาะสมเพียงพอ แต่สำหรับบางท่านอาจจะมีความต้องการมากกว่านั้น คือต้องการต่อเติมชั้นที่สองด้วย ซึ่งแน่นอนผลที่ตามมาก็คือ การทรุดตัวต่างระดับ และส่วนที่ต่อเติมจะฉีกแยกจากตัวอาคารเดิม

ไมโครไพล์ เสาเข็มไมโครไพล์ Micropile สปันไมโครไพล์ ไมโครไพล์ เสาเข็มไมโครไพล์ Micropile สปันไมโครไพล์ ไมโครไพล์ เสาเข็มไมโครไพล์ Micropile สปันไมโครไพล์

ส่วนข้อที่ 3 นั้น น่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด แต่ปัญหาก็คือส่วนที่จะต้องทำการต่อเติมนั้นมักจะคับแคบ มีพื้นที่ไม่มากนัก การขนย้ายปั้นจั่นหรือเสาเข็มยาวๆ เข้าไป แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย แล้วจะทำอย่างไรดีล่ะ ปัจจุบันสำหรับบางท่านที่ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับงบประมาณ การก่อสร้างนัก ก็มักจะใช้เสาเข็มเหล็กกลม Æ6”-Æ 8” โดยตัดเป็นท่อนสั้นๆ ใช้ปั้นจั่นขนาดเล็ก ตุ้มน้ำหนักไม่เกิน 1 ตัน ตอกลงไปโดยการต่อเชื่อมทีละท่อนจนกว่าจะถึงความลึกที่ต้องการ จากนั้นก็กรอกคอนกรีตลงไปในรูท่อเหล็กจนเต็ม อีกวิธีหนึ่งก็คือ การใช้เสาเข็มเจาะแบบแห้ง (Dry process) ผลที่ได้ก็คือ อาคารที่ต่อเติมใหม่จะมีการทรุดตัวน้อยลง อาการแตกร้าวระหว่างอาคารใหม่กับอาคารเก่าก็จะน้อยลง หรือแทบจะไม่มีเลย แต่ทั้งสองวิธีการก็ยังมีข้อเสียอยู่คือ เสาเข็มเหล็กมีราคาค่อนข้างแพง และมีแนวโน้มจะแพงขึ้นเรื่อยๆ ตามราคาเหล็กในตลาด ทำให้เจ้าของบ้านที่มีงบประมาณจำกัด ลังเลที่จะใช้เสาเข็มแบบนี้ ส่วนเสาเข็มเจาะแบบแห้ง ในขั้นตอนทำงานก็มีข้อเสียคือ เสียงดัง, สกปรก และราคาก็ค่อนข้างแพงอยู่ดี ถ้าเราต้องการใช้เสาเข็มเพียงจำนวนน้อยๆ

                เมื่อวิเคราะห์ถึงปัญหาต่างๆ ในการต่อเติมบ้าน ข้อดีข้อด้อยของเสาเข็มแบบต่างๆ ที่ใช้ในปัจจุบัน ของบริษัท สยาม ไมโคร ไพล์ จำกัด จึงได้ค้นคิดหาเสาเข็มรูปแบบใหม่ๆ ที่จะมาทดแทน โดยมีวัตถุประสงค์ว่า จะต้องมีความแข็งแรงไม่น้อยกว่าเสาเข็มเหล็ก ติดตั้งได้สะดวกรวดเร็ว มีคุณภาพที่ใช้วางใจได้ สามารถตอกลงไปในดินให้ลึกๆ เท่าที่ต้องการ สร้างมลภาวะในขณะทำงานให้น้อยที่สุด (วิดีโอแรงสั่นสะเทือน)

 

ไมโครไพล์ เสาเข็มไมโครไพล์ Micropile สปันไมโครไพล์ ไมโครไพล์ เสาเข็มไมโครไพล์ Micropile สปันไมโครไพล์ ไมโครไพล์ เสาเข็มไมโครไพล์ Micropile สปันไมโครไพล์

               ผลจากการทดลองเป็นระยะเวลากว่าปี ก็ได้ผลิตภัณฑ์เสาเข็มที่บริษัทฯ มีความภาคภูมิใจมากเพราะเราคิดค้นเสาเข็มระบบนี้เป็นคนแรก เป็นเสาเข็มคอนกรีตที่สามารถที่จะสนองตอบความต้องการของงานต่อเติมได้ทุกรูปแบบ ผลิตภัณฑ์ของเราคือ เสาเข็มสปันไมโครไพล์ ซึ่งมีขบวนการผลิตที่มีมาตรฐานในระดับเดียวกันกับเสาเข็มสปันขนาดใหญ่ มีคุณภาพสูงจนได้รับใบอนุญาตแสดงเครื่องหมาย มอก.397-2524 ใบอนุญาตเลขที่ 749-1/397 จากสำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2558 เป็นรายแรกในประเทศไทย.....

ไมโครไพล์ เสาเข็มไมโครไพล์ Micropile สปันไมโครไพล์

 

บทความโดยนายช่าง วีระพล ยืนยาว 

บริษัท สยาม ไมโครไพล์ จำกัด

(อ่านต่อตอนที่ 3)