บริษัท สยามเอ็นจิเนีย ฟอรั่ม จำกัด

Blog Detail

เสาเข็มสปันไมโครไพล์สำหรับงาน Under pinning และการต่อเติมอาคาร ตอนที่1

 

ไมโครไพล์ บ้านทรุดไมโครไพล์ บ้านทรุดไมโครไพล์ บ้านทรุด

           โดยวิถีชีวิตแบบไทยๆ ซึ่งคาดว่าน่าจะเกินกว่า 50% ของคนที่ซื้อบ้าน ไม่ว่าจะเป็นบ้านเดี่ยว หรือ Town house เมื่อซื้อบ้านและเข้าไปอยู่อาศัยได้สักระยะเวลาหนึ่ง ก็มักจะรู้สึกว่าบ้านที่ซื้อไปมีพื้นที่ใช้สอยไม่เพียงพอกับความต้องการ หรือมีรูปแบบที่ยังไม่สวยสมใจ โดยมีเหตุปัจจัยมาจากหลายๆ สาเหตุด้วยกัน เช่น มีสมาชิกในครอบครัวมากขึ้น มีกำลังทรัพย์เพิ่มมากขึ้น หรือซื้อรถยนต์คันใหม่ เป็นต้น ดังนั้น ผลที่ตามมาก็คือ ต้องมีการต่อเติมดัดแปลงตัวบ้านให้ตรงกับความต้องการของตน

ไมโครไพล์ บ้านทรุดไมโครไพล์ แก้ไขบ้านทรุดไมโครไพล์ แก้ไขบ้านทรุด

           การต่อเติมบ้านนั้น เกือบร้อยละร้อย ก็จะอาศัยความรู้ความชำนาญจากผู้รับเหมาประจำหมู่บ้าน หรือผู้รับเหมาที่เพื่อนฝูงแนะนำกันมา มีน้อยรายที่จะปรึกษาหรือใช้บริการของวิศวกรมืออาชีพ ผลที่ตามมาก็คือ อาคารที่ต่อเติมเข้ากับตัวบ้านในภายหลัง มักจะไม่ค่อยจะสามัคคีสมานฉันท์กับตัวบ้านเดิม มักจะทรุดตัว แตกแยกออกจากกันในระยะเวลาไม่กี่ปี ในบางรายพอสร้างเสร็จปุ๊บก็แยกจากกันเลยก็มี ซึ่งสาเหตุหลักๆ ก็คือ อาคารเดิมกับอาคารใหม่ที่เพิ่งจะต่อเติมมีการทรุดตัวไม่เท่ากัน หรือที่เรียกกันว่า ทรุดตัวต่างระดับกัน อาคารเดิมใช้เสาเข็มที่ถูกออกแบบโดยวิศวกร มีขนาดและความยาวของเสาเข็มที่เหมาะสมกับน้ำหนักบรรทุก ถูกต้องตามหลักวิชาการ การทรุดตัวมีน้อย แต่อาคารใหม่ที่ต่อเติมใหม่ มักจะนิยมใช้เสาเข็มขนาดเล็กๆ สั้นๆ เนื่องจากขนาดจำกัดของพื้นที่ ทำให้ไม่สามารถขนปั้นจั่น และเสาเข็มยาวๆ เข้าไปตอกได้ ผู้รับเหมาไม่มีทางเลือก จึงจำเป็นจะต้องใช้เสาเข็มขนาดเล็กรูปหน้าตัดหกเหลี่ยม ที่มีขายตามท้องตลาดทั่วไป เนื่องจากมีขนาดพอเหมาะที่จะขนย้ายจากหน้าบ้านไปข้างๆ หรือหลังบ้านได้โดยใช้แรงคน เวลาตอกหรือติดตั้งก็ใช้คนขย่มเอา หรือไม่ก็ใช้ตุ้มตอกแบบสามเกลอ ซึ่งขนาดยาวสุดเท่าที่จะสามารถทำงานได้ ก็ไม่น่าจะเกิน 5-6 เมตร และเพื่อให้รู้สึกมั่นใจยิ่งขึ้น ผู้รับเหมาก็มักจะบอกว่าหลุมหนึ่งๆ ใช้เสาเข็มหลายๆ ต้นช่วยกันรับน้ำหนักก็แล้วกัน แค่นี้ก็พออยู่แล้ว

                                                                                  ( ขอบคุณรูปภาพจากอินเตอร์เน็ต )

  

             แต่ในแง่ของหลักวิชาการผู้รับเหมาพูดถูกเพียงครึ่งเดียว เสาเข็มสั้นๆ หลายๆ ต้นช่วยกัน สามารถรับน้ำหนักได้อย่างแน่นอน เพราะเมื่อกระจายน้ำ หนักบรรทุกลงเสาเข็มแต่ละต้นแล้ว เสาเข็มแต่ละต้นรับน้ำหนักนิดเดียวจึงไม่น่าจะมีปัญหาอะไร แต่ลืมนึกถึงการทรุดตัวของดิน เพราะจริงๆ แล้วเสาเข็มไม่ได้ทรุดตัว แต่ดินที่อุ้มเสาเข็มไว้ต่างหากที่ทรุดตัวการทรุดตัวของดินเหนียวอ่อนชั้นบางๆ โดยเฉพาะดินเหนียวถมใหม่ๆ ตามหมู่บ้านจัดสรรทั่วไป มักจะมีอัตราการทรุดตัวที่สูงมาก เสาเข็มสั้นๆ 5-6 เมตรที่ตอกได้ จมอยู่ในชั้นดินถมกว่าครึ่ง อีกประมาณครึ่งหนึ่งอาจจะอยู่บนชั้นดินเดิม แต่ก็เป็นดินเหนียวอ่อน ซึ่งชั้นดินเหล่านี้ เมื่อมีน้ำหนักบรรทุกมากระทำ ก็จะเริ่มทรุดตัวลงไป

 

           เมื่อปรับตัวเข้าสู่สมดุล ผลก็คือเสาเข็มที่จมอยู่ในชั้นนี้ ก็จะทรุดตัวลงไปด้วย แต่เสาเข็มเดิมๆของตัวบ้าน ซึ่งมักจะยาวกว่าจะทรุดตัวน้อยกว่าหรือหยุดทรุดตัวนานแล้ว ดังนั้นอาคารที่ต่อเติมใหม่ก็จะค่อยฉีกออกจากอาคารเดิมปรากฏให้เห็นเป็นแนวแตกอ้าอย่างชัดเจน วิธีแก้ไขอย่างง่ายๆก็ใช้วิธีโป๊วปูนเข้าไปก็จะอยู่ได้สักระยะหนึ่ง แล้วก็จะร้าวอีกจนกระทั่งวิบัติ ไม่สามารถอยู่อาศัยได้อีกต่อไปแล้ว......

บทความโดยนายช่าง วีระพล ยืนยาว 

บริษัท สยาม ไมโครไพล์ จำกัด

(อ่านต่อตอนที่ 2)