บริษัท สยามเอ็นจิเนีย ฟอรั่ม จำกัด

Blog Detail

วิธีการติดตั้งเสาเข็ม Spun Micropile

โดยปกติทั่วไป จะมีวิธีการติดตั้งเสาเข็มอยู่ 3 แบบคือ

1. การตอกด้วยตุ้มตอก ขนาด 1.0 – 2.0 ตัน วิธีการติดตั้งแบบนี้จะใช้ในกรณีที่มีพื้นที่ทำงานเพียงพอ ซึ่งอย่างน้อยต้องกว้างประมาณ1.20 เมตร ยาวประมาณ3.00 เมตร และมีความสูงของหลังคาเกิน 3.20 เมตร

ไมโครไพล์ เสาเข็มไมโครไพล์ Micropile สปันไมโครไพล์  ไมโครไพล์ เสาเข็มไมโครไพล์ Micropile สปันไมโครไพล์

 การติดตั้งเสาเข็มด้วยตุ้มตอก และ การทำงานในที่แคบ

 

เสาเข็มจะถูกตอกลงไปทีละท่อน เชื่อมต่อแต่ละท่อนเข้าด้วยกันด้วยการเชื่อมไฟฟ้า และสามารถตรวจคุณภาพของรอยเชื่อมด้วยวิธี Penetrant test มีการจดบันทึกจำนวนครั้งที่ตอก (Blow Count) และการตอกสิบครั้งสุดท้าย (Last Ten Blows) เพื่อตรวจสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็มและความสามารถในการรับน้ำหนัก ซึ่งปกติจะใช้ Danish’s Formula จากประสบการณ์ที่ผ่านมาพบว่า จะให้ค่าที่ใกล้เคียงกับผลที่ได้จากการทดสอบน้ำหนักบรรทุกเสาเข็มที่สุด และถ้าจำเป็นสามารถทำการทดสอบความสามารถในการรับน้ำหนักบรรทุกของเสาเข็ม ด้วยวิธี Dynamic Load Test เช่นเดียวกับเสาเข็มขนาดใหญ่ทั่วไป 

ไมโครไพล์ เสาเข็มไมโครไพล์ Micropile สปันไมโครไพล์

 การทดสอบน้ำหนักบรรทุกเสาเข็ม

 

2. การกดอัดด้วยแม่แรงไฮดรอลิควิธี การติดตั้งเสาเข็มแบบนี้จะใช้ในกรณีที่ ไม่สามารถทำงานได้ด้วยวิธีการตามข้อ 1 ปกติจะใช้กับงานเสริมฐานราก ซึ่งจะต้องเข้าไปทำงานใต้อาคารที่มีพื้นที่ทำงานค่อนข้างคับแคบมากๆ และมีความสูงจำกัด การตรวจสอบ รอยต่อเชื่อมทำได้เช่นกับวิธีการในข้อที่1 แต่การตรวจสอบความสามารถในการรับน้ำหนัก จะตรวจสอบจากมาตรวัดแรงดันของแม่แรงไฮดรอลิคที่ได้รับการสอบเทียบ (Calibration) มาแล้ว

ไมโครไพล์ เสาเข็มไมโครไพล์ Micropile สปันไมโครไพล์    ไมโครไพล์ เสาเข็มไมโครไพล์ Micropile สปันไมโครไพล์     

การติดตั้งเสาเข็มด้วยวิธีการกดอัดกับโครงสร้างอาคารและการเสริมฐานราก    

  ไมโครไพล์ เสาเข็มไมโครไพล์ Micropile สปันไมโครไพล์

การติดตั้งเสาเข็มด้วยวิธีกดอัดกับคานปฏิกิริยา (ชั่วคราว) 

 

3. วิธีเจาะนำ(Pre- Boring) วิธีการติดตั้งแบบนี้จะใช้ในกรณีที่ชั้นดินมีปัญหาจนไม่สามารถทำงานได้ด้วยวิธีการตามข้อที่ 1 และ 2 เช่นมีการถมที่ด้วยเศษวัสดุหรือชั้นดินบริเวณผิวดินมีความแข็งมาก จนไม่สามารถตอกหรือกดอัดตามปกติได้ โดยไม่ทำความเสียหายแก่ตัวเสาเข็มเอง เมื่อเจาะจนทะลุชั้นดินที่มีปัญหาแล้วจึงทำการตอกหรือเจาะกดตามวิธีปกติต่อไปจนถึงความลึกที่ต้องการ วิธีการทำงานแบบนี้จะสามารถแก้ปัญหาการตอกเสาเข็มไม่ลง หรือไม่ได้ความลึกที่ต้องการได้เป็นอย่างดี

ไมโครไพล์ เสาเข็มไมโครไพล์ Micropile สปันไมโครไพล์

การเจาะนำที่หน่วยงานบ้านพักอาศัยที่สนามบินน้ำ

ไมโครไพล์ เสาเข็มไมโครไพล์ Micropile สปันไมโครไพล์

การทดสอบ Earth Auger Motor

เครื่องเจาะไฮดรอลิค เออร์ท ออเกอร์มอเตอร์ ( Hydraulic Earth Augermotor ) สำหรับการทำงานในระบบพรีบอริ่ง ( Pre-boring) ในกรณีที่ไม่สามารถตอกเสาเข็มสปันไมโครไพล์ด้วยตุ้มตอกธรรมดาได้ เนื่องจากชั้นดินมีความแข็งมากเกินไป เช่น พื้นที่ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ที่มีชั้นทรายหนา หรือบริเวณ สระบุรี ที่เป็นชั้นหิน ซึ่งอาจมีอุปสรรคปัญหาใดๆที่ทำให้ไม่สามารถตอกเสาเข็มจนถึงระดับความลึกที่ต้องการได้ รวมทั้งการแก้ไขปัญหาการเคลื่อนตัวด้านข้างของดินอีกด้วย ไฮดรอลิคมอเตอร์มีกำลัง20แรงม้าเพลา สามารถเจาะรูขนาด20ซม.ได้ความลึกมากกว่า21เมตรโดยไม่มีปัญหาใดๆ วิดีโอการทดสอบเครื่องเจาะ Earth Auger Motor